เครื่อง CPPAP PROMOTION เครื่องช่วยสำหรับคนนอนกรน

เครื่องช่วยสำหรับคนนอนกรน cpap auto เช่า เช่า เช่า เช่า เช่า เช่า เช่า เช่า
เครื่องช่วยสำหรับคนนอนกรน นำเข้าจากประเทศไต้หวันค่ะ..ด่วนสินค้ามีจำนวนจำกัด
cpap auto ราคา 65000 พร้อมหน้ากาก promtion 38000- ด่วนค่ะ...
ราคา พิเศษสุด 38,000- เท่านั้น..จากราคาปกติ 65000-

.jpg)
.jpg)
ด่วนๆๆๆนะค่ะสินค้ามีจำนวนจำกัดเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของคุณลูกค้าค่ะ...
แล้วคุณจะไม่ง่วงไม่เพลียอีกต่อไป..

เครื่องช่วยสำหรับคนนอนกรน( cpap-bipap )aveotsd

เครื่องช่วยคนสำหรับนอนกรน aveo tsd มาแล้ว ค่ะสินค้ามาใหม่ ราคา6000- promotion 5000 บาท
เห็นผลจริงสุดยอด ...
มีตัวอย่างทดลองใช้ค่ะ ติดต่อ
0846581187 0894799822 กอล์ฟ ผู้จัดการร้าน


เครื่องช่วยสำหรับคนนอนกรน cpap cpap auto APLEX สินค้าเข้ามาใหม่รับรองถูกใจแน่นอน...


หน้ากาก cpap mask cpap อไหล่ ทุกตัวของเครื่อง cpap

บริการบันทึกการนอนหลับที่บ้าน
Sleep test หรือ polysomnograph เป็นการตรวจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย ปัจจุบันสามารถนำเครื่องไปติดตั้งถึงบ้านผู้ป่วย ซึ่งจะมีข้อดีกว่า การตรวจในห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาล คือบรรยากาศในการนอนเหมือนเดิม และค่าใช้จ่ายถูกกว่า มีข้อเสียคือ กรณีสายสัญญาณหลุดไม่สามารถแก้ไขในคืนนั้นได้ เป็นต้น
การตรวจการนอนหลับ (sleep study) แบ่งเป็นประเภทต่างๆได้ 4 ประเภท ตามจำนวนสัญญาณและรูปแบบการตรวจวัด ได้แก่
1. Type 1 sleep study: Full attended polysomnography (³ 7 channels) เป็นการตรวจวัดสัญญาณต่างๆที่ใช้ประกอบในการแปลผลการนอนหลับอย่างครบถ้วน ได้แก่ คลื่นสมอง (electroencephalogram, EEG) คลื่นกล้ามเนื้อลูกตา (electro-oculogram, EOG), คลื่นกล้ามเนื้อคางและขา (chin & leg electro-myogram [EMG]), คลื่นหัวใจ (electrocardiogram, ECG), ลมหายใจ (airflow), การขยับเคลื่อนไหวของทรวงอกและช่องท้อง (chest & abdominal movement), ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (oxygen saturation), ท่าทางการนอน (body position) โดยระหว่างการตรวจนั้น จะมีเจ้าหน้าที่ตรวจการนอนหลับ เฝ้าสังเกตสัญญาณต่างๆ ผ่านทางจอคอมพิวเตอร์และกล้องวิดีโอตลอดเวลา
2. Type 2 sleep study: Full unattended polysomnography (³ 7 channels) เป็นการตรวจวัดสัญญาณต่างๆ ที่ครบถ้วนเช่นเดียวกับ type I sleep study เพียงแต่ไม่มีเจ้าหน้าที่เฝ้าในระหว่างการตรวจ
3. Type 3 sleep study: Limited channel devices (4-7 channels) เป็นการตรวจเฉพาะระบบหัวใจและการหายใจ โดยทำการตรวจได้ทั้งแบบ attended หรือ unattended กล่าวคือ จะมีการตรวจวัดสัญญาณต่างๆ คล้ายกับ type I sleep study แต่ไม่มีการติด EEG, EOG, chin & leg EMG
4. Type 4 sleep study: 1 or 2 channels devices เป็นการตรวจวัดเพียงแค่ 1-2 สัญญาณ โดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย oxygen
saturation ร่วมกับการวัด airflow ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่เพียงพอ และมีข้อจำกัดในการใช้มาก
|
ภาพการติดอุปกรณ์ตรวจการนอนหลับ Type 1 , 2
|
|
 |
ขั้นตอนปฎิบัติในการตรวจการนอนหลับ |
- เมื่อถึงวันนัดหมาย กรุณาอาบน้ำ สระผม (ไม่ใส่ครีมนวด)ไว้ก่อน ชุดนอนควรเป็นแบบเสื้อผ่าหน้า ทำกิจวัตรประจำวันตามปกติ เช่น เคยรับประทานยาก็ทานยาตามปกติ
- พนักงานจะไปถึงที่นัดหมาย (โดยปกติจะเป็นบ้านของลูกค้าเอง) เวลาประมาณ 20.30 ทุ่ม เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ ใช้เวลาในการติดตั้งประมาณ 15 นาที (ไม่จำเป็นต้องติดตั้งในห้องนอน) สำหรับการติดแบบ Type 3 ใช้เวลาในการติดตั้งประมาณ 40 นาที สำหรับการติดแบบ Type 2
- หลังจากติดตั้งอุปกรณ์เสร็จแล้ว สามารถอ่านหนังสือ ดูทีวีหรือเข้าห้องน้ำตามปกติ
- เข้านอนตามเวลาปกติ
- ในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ตื่นนอนตามเวลาปกติ และถอดสายสัญญาณ ต่างๆ ใส่กระเป๋า
- พนักงานบริษัท จะไปรับเครื่องกลับตามเวลานัดหมาย
- บริษัท จะทำการส่งผลข้อมูลไปให้แพทย์ เพื่อวิเคราะห์ผลต่อไป ภายใน 4 วันทำการ
ติดต่อนัดหมายกับทางบริษัท ฯ หมายเหตุ บริษัท ฯ บริการบันทึกข้อมูล ส่วนการวินิจฉัยต้องติดต่อแพทย์เท่านั้น
|
บุคคลที่สมควรได้รับการตรวจการนอนหลับ
1. Loud irregular snoring (นอนกรนเสียงดังไม่สม่ำเสมอ)
2. Stroke (โรคสมองขาดเลือด)
3. Pronounced daytime fatique and drowsiness (อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า และง่วงหงาวหาวนอนในเวลากลางวัน)
4. Hypertension (โรคความดันโลหิตสูง)
5. Impaired concentration irritability (หงุดหงิดง่าย/ไม่มีสมาธิ)
6. Erectile dysfunction (อวัยวะเพศไม่แข็งตัว)
7. Diabetes mellitus type II (โรคเบาหวานชนิดที่ 2)
8. ผู้ขับขี่ยวดยานพาหนะสาธารณะ เช่นนักบิน พนักงานขับรถไฟ พนักงานขับรถโดยสาร พนักงานขับรถขนส่งสินค้า และ พนักงานที่ต้องควบคุมเครื่องจักร เป็นต้น
|

เครื่องช่วยสำหรับคนนอนกรน



CPAP Fisher & Paykel มี 3 แบบ ธรรมดา auto bipap
Healthcare's F&P ICON is the company's latest and most advanced continuous positive airway pressure (CPAP) machine for the treatment of Obstructive Sleep Apnea (OSA). The ICON Auto provides flexibility in pressure modes and full efficacy reporting.
The F&P ICON™ was designed following in-depth patient and clinical feedback. With a dedicated team of experts, including sleep scientists and doctors, engineers and industrial designers, working on its creation for more than three years, the result is the sleep product that doctors have been asking for.
The F&P ICON™ integrates Fisher & Paykel Healthcare's leading clinical technologies into one compact and stylish unit to deliver a better night's sleep for patients.
ThermoSmart™ technology is at the forefront of Fisher & Paykel Healthcare's humidification philosophy and recent clinical evidence shows why:
- It provides a more comfortable CPAP experience
- It improves sleep quality and total sleep time
- It lowers nasal airway resistance for 10% lower pressure
- It eliminates condensation
A recent study found that ThermoSmart™ was the only CPAP device in the study to deliver average absolute humidity greater than 27 mg/L and the only CPAP device to deliver high levels of humidity without causing any condensate.
The versatile F&P ICONTM Auto can be used as a titration and long term treatment solution for patients, particularly those experiencing:
- Pressure intolerance
- Pressure requirements greater than 10 cmH2O
- REM or positional OSA
- Incomplete laboratory titration
- Planned weight changes (e.g. future bariatric surgery)
- Returning symptoms after long-term CPAP use
Another feature of the F&P ICON™ Auto is SensAwake™, a technology with the ability to sense the pattern of irregular breathing which occurs at the transition from sleep to awake, and promptly reduces pressure to aid the transition back to sleep.
The F&P ICON™ also includes InfoSmart™ technologies, which provide a range of communication and reporting options to suit the patient management preferences of individual medical practices.
Stylish, compact and designed in neutral colours, the F&P ICON™ discreetly blends into the bedroom environment. It also comes with full digital clock and alarm capabilities, freeing up space on the night-stand.



Modell: cpap ประเทศเยรมัน ยี่ห้อ hoffrichter รุ่น point 2 โปรโมชั่น ค่ะ cpap ธรรมดา ลด30% โทรเบอร์ 0846581187
point 2 CPAP (5CPJ00) / point 2 CPAP mit aquapoint 2 (5CPJ00 + 5CPJ20) / point 2 AutoCPAP (5CPJ10) / point 2 AutoCPAP mit aquapoint 2 (5CPJ10 + 5CPJ20)
Bestellnummer:
00012944 / 00012950 / 00012945 / 00012951
Schlafapnoegerät
- CPAP-Gerät zur Behandlung schlafbezogener Atemstörungen
- zur nicht-lebenserhaltenden Therapie von obstruktiver Schlafapnoe (OSA) bei Patienten ab einem Gewicht von 30
kg
- Rampenfunktion zur langsamen Drucksteigerung während der Einschlafphase
- FLEX-Funktion zur Entlastung der Atemmuskulatur einstellbar in drei Stufen getrennt für In- und Expiration; zu diesem Zweck wird der Therapiedruck während der Einatmung erhöht und während der Ausatmung vermindert
- Start-/Stopp-Automatik
- Maskenalarm und Maskentestfunktion zur Kontrolle des Maskensitzes
- Datums-, Zeit- und Weckfunktion
- Zähler für Betriebsstunden, Motorlaufzeit, Therapiedauer und Filteralter
- vorgesehen für Netz- und Batteriebetrieb
- Batteriebetrieb über Akkupack powerpack point 2 möglich
- Akkupack und KFZ-Kabel sind optional erhältlich
- Lieferumfang bestehend aus Grundgerät mit Netzteil und -kabel, Transporttasche, Ersatzfilter, Therapieschlauch (1,80
m), Atemmaske (optional) mit Ausatemventil, Kopfhalterung und Gebrauchs- und Kurzanleitung
- verwendbar in Kombination mit dem beheizbaren Atemluftbefeuchter aquapoint 2
- Befeuchter entweder als optionales Zubehör erhältlich oder im Lieferumfang des Grundgerätes enthalten
Gewicht: |
ca. 1,5 kg |
Höhe: |
9,5 cm |
Breite: |
17 cm |
Tiefe: |
22 cm |
Spannung: |
100-240 V AC, 50-60 Hz; 24 V DC |
Leistungsaufnahme: |
DC-Betrieb |
Netzbetrieb |
- Standby (Akku laden) |
<26 W |
<35 W |
- Standby (ohne Akkupack) |
<3 W |
<5 W |
- Betrieb bei 20 hPa |
<14 W |
<17 W |
- Betrieb bei 12 hPa |
<10 W |
<12 W |
- Betrieb bei 6 hPa |
<6 W |
<9 W |
Stromaufnahme: |
max. 2,1 A (bei 24 V) |
Betriebsgeräusch: |
<30 dB(A) bei 10 hPa |
Temperatur (Betrieb): |
+5 bis +40 °C |
Temperatur (Lagerung): |
-20 bis +70 °C |
Therapiemodus: |
CPAP |
Betriebsdruckbereich: |
4 bis 20 hPa (mbar) |
Schrittweite: |
<0,5 hPa |
Max. Grenzdruck im Fehlerfall: |
30 hPa |
Langzeit-Druckvarianz: |
<0,1 hPa |
Atemdruckanzeige: |
bargraf |
Rampendauer: |
0 bis 30 min, einstellbar in 10-Minuten-Schritten |
Rampen-Startdruck: |
4 hPa bis CPAP |
Luftfördermenge bei: |
- 4 hPa |
165 l/min |
- 8 hPa |
155 l/min |
- 12 hPa |
145 l/min |
- 16 hPa |
125 l/min |
- 20 hPa |
115 l/min |
Therapieschlauchanschluss: |
22 mm, Konus |
Akkutyp: |
11,1 V DC (pro Akku), 2150 mAh |
Akkulaufzeit: |
ca. 8 h (bei 8 hPa, 12 Atemzüge pro Minute, 500 ml Atemzugsvolumen) |
Bestell-Nummer: |
00012944 |
HMV-Nummer: |
14.24.20.0057 |


BEST TANGO C-PAP
Product Features
The C-Series Heated Humidifier is easy-to-set-up and offers:
- Unique, tubeless design that works with the new C-Series CPAP.
- Simple C-Series adapter seal provides secure contact between the water chamber and the CPAP.
- Clear water chamber that's easy to fill and easy to remove.
- A lighted humidifier control button on the CPAP unit makes adjusting humidification levels easy.
- The Heated Humidifier plugs directly into the C-Series CPAP- so there is only one plug going from the CPAP to the wall outlet.

BEST RESMED S9 ELITE
- Intuitive, sleek, low profile design
- Programmable mask fit system (Nasal, Pillows, Full Face)
- Automatic Altitude Adjustment
- ClimateControl heated humidifier (optional)
- EPR, Easy Breath Technology
- Meets the FAA requirements for all phases of air travel
- CSA (Central Sleep Apnea) detection
- On-display and removable advanced data reporting
- Automatic leak compensation
BEST RESMED S9 ESCAPE AUTO

Product Description
BEST RESMED S9 AUTO SET




อุปกรณ์ cpap






VENTILATOR
Portable emergency ventilator
compact and portable
pneumatically driven electronically controlled
Suitable for adult and paediatric
Multi ventilation mode a/c sigh simv spont manual
A lcd screen display parameters waveform of patient
Flexible power supply mains external dc and internal battery
Easy hose connecting to save time
Designed for emergency and patients transportation
Oxyen cylinder with regulator as standard accessory


Weight Reduction Guidelines
โดย
ผศ.นพ.วิชญ์ บรรณหิรัญ
American Board of Sleep Medicine,
Certified International Sleep Specialist
ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ปัจจุบันพบว่า ความอ้วน หรือน้ำหนักเกินเป็นสาเหตุอย่างหนึ่ง ของการนอนกรน และ หยุดหายใจขณะหลับซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว ยังเป็นที่ทราบกันดีว่า ความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อ โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, อัมพฤกษ์, กระดูกเข่าเสื่อม, โรคนิ่วในถุงน้ำดี และตลอดจนโรคมะเร็งบางชนิด หรือโรคอื่น ๆ อีกไม่น้อย
การประเมินระดับความอ้วน หรือน้ำหนักเกิน สามารถวัดได้หลายวิธี เช่น
1. การหาค่า ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index) หรือ BMI ซึ่งปัจจุบันเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด
โดยคำนวณได้จาก สูตร คือ BMI = น้ำหนัก (kg)
ส่วนสูง2 (m2)
ตัวอย่างเช่น ถ้ามีน้ำหนัก 70 กก. และมีส่วนสูง 1.70 เมตร จะมีค่า ดัชนีมวลกาย (BMI) คือ
70 / (1.70 x 1.70) ดังนั้น จะมีค่า BMI = 24.22 เป็นต้น
ในผู้ใหญ่ ค่า BMI ในช่วง 18.5 - 24.9 จะถือว่าปกติ ถ้า BMI อยู่ในช่วง 25 - 29.9 จะถือว่าท้วม หรือน้ำหนักเกิน (Overweight), หรือ BMI อยู่ในช่วง 30 - 39.9 จะถือว่า อ้วน (Obesity) แต่ถ้า BMI มากกว่า 40 จะถือว่า อ้วนมาก (Extreme Obesity)
สำหรับเด็ก ให้ใช้ค่า BMI ที่คำนวณได้ไปเทียบกับ Growth chart ตามอายุ และเพศ ที่มีอยู่
2. การวัดรอบเอว (Waist circumference) ให้วัดระดับเหนือกระดูกเชิงกราน วัดตรงกลางขณะหายใจออกสุด ซึ่งค่าที่ได้นี้จะสัมพันธ์กับไขมันในช่องท้อง (visceral fat)
3. การวัดเส้นรอบคอ (Neck circumference)
วิธีการลดน้ำหนักสำหรับคนอ้วนหรือน้ำหนักเกิน อาจแบ่งออกเป็นขั้นตอน ได้แก่
1. การตั้งเป้าหมายในการลดน้ำหนัก (Goal Setting)
สำหรับในผู้ใหญ่ ควรตั้งเป้าหมายแบบ ค่อยเป็นค่อยไป และสมเหตุ สมผล เช่น ลดน้ำหนักตัวได้ ร้อยละ 5- 10 จากปัจจุบัน ภายใน 6 เดือน หรือ ประมาณ ½ กิโลกรัมต่อสัปดาห์ (เดือนละ 2 กก.) เป็นต้น
สำหรับเด็กนั้น อาจตั้งเป้าหมายเพียง น้ำหนักตัวให้คงที่ ขณะที่ส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างเดียว เป็นต้น
2. การปรับเปลี่ยนนิสัยและพฤติกรรมการใช้ชีวิต (Life style changes)
วิธีนี้ ถือว่าเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดสำหรับระยะยาว โดยหลักการคือ การหาทางลดพลังงานที่ได้รับ (Energy Intake) และ เพิ่มการใช้หรือเผาผลาญพลังงาน (Energy Output)
2.1 การลดพลังงานที่ได้รับจากอาหาร (Diet Control)
โดยทั่วไป ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ควรควบคุมพลังงานที่ได้รับจากอาหาร ให้ ไม่เกินวันละ 1200 – 1600 แคลอรี่ ในผู้ชาย หรือ วันละ 1000 – 1200 แคลอรี่ ในผู้หญิง ในเด็กที่ลดน้ำหนัก หรือบางรายที่ต้องควบคุมมากกว่านี้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ที่เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัย
2.1.1 ชนิดของอาหารที่ควรจำกัดปริมาณ
· อาหารที่มีไขมันชนิดอิ่มตัวและชนิด trans- สูง ได้แก่ กลุ่มเนื้อติดมัน ไส้กรอก หนังไก่ หนังหมู ของทอดต่างๆ ด้วย น้ำมันปาล์ม น้ำมันหมู เช่น ไก่ทอด มันฝรั่งทอด หรือ กล้วยทอด ฯลฯ และ กลุ่มที่มีกะทิ เช่น มะพร้าว หรือ แกงกะทิ หรือ กลุ่มที่มีครีม เช่น เนย ไอศกรีม คุกกี้ เค้ก โดนัท ขนมปังส่วนใหญ่ เป็นต้น
· อาหารที่มีไขมันคลอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ ไข่แดง ตับ เครื่องในสัตว์ กุ้ง หรือผลิตภัณฑ์ นม เนย ครีม ฯลฯ
· อาหารที่มีน้ำตาลสูง ได้แก่ น้ำหวาน น้ำเชื่อม ผลไม้กระป๋อง ฯลฯ
· เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ เช่น เบียร์ สุรา เป็นต้น
**ในการเลือกอาหารอาจดู ค่าพลังงานที่จะได้รับจากข้างกล่องหรือ ที่บรรจุอาหาร**
2.1.2 ชนิดของอาหารที่แนะนำสำหรับลดน้ำหนัก ได้แก่
· นมไขมันต่ำ หรือ นมปลอดไขมัน เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือไม่มี หนัง เช่น เนื้อปลานึ่ง
· อาหารกลุ่มที่มีส่วนประกอบของธัญพืช หรือถั่วเหลือง
· ผักและผลไม้ ที่ให้พลังงานไม่สูง (ไม่รวมทุเรียน หรือ มะม่วง )
· น้ำมันมะกอก อาจใช้ปริมาณเล็กน้อย ในทำอาหารทดแทน น้ำมันหมูได้
2.2 การออกกำลังกายหรือ เพิ่มกิจกรรมที่ใช้พลังงาน (Physical Activity)
ข้อดี นอกจากจะช่วยลดน้ำหนักแล้ว ยังลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของปอด กล้ามเนื้อ และ ชะลอการสึกหรอของกระดูก นอกจากนี้ยังช่วยให้ ความเครียดลดลง ทำให้มีโอกาสใช้เวลากับครอบครัวหรือเพื่อนมากขึ้น และถ้าทำอย่างถูกเวลาจะช่วยให้นอนหลับดีขึ้นอีกด้วย
การออกกำลังกายที่ดีควรเป็น แบบ aerobic exercise คือมีการเคลื่อนไหวร่างกาย และเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ ระดับปานกลาง เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ เดินเร็ว ขี่จักรยาน ฯลฯ โดยปริมาณที่เหมาะสม สำหรับ ผู้ใหญ่ คืออย่างน้อย วันละ 30 นาที ไม่น้อยกว่า 3 วันต่อสัปดาห์ หรือ ประมาณวันละ 1 ชั่วโมงในเด็ก
อย่างไรก็ตาม สำหรับควรเริ่มต้นทีละน้อย แบบค่อยเป็นค่อยไป และเลือกกิจกรรมที่ชอบหรือมีความสุข เช่น อาจเริ่มต้นด้วยการเดินให้มากขึ้น, ถ้าตึกไม่สูงมากให้เดินขึ้นบันได แทนการใช้ลิฟท์, ทำงานบ้าน งานสวน, หรือทำกิจกรรมสันทนนาการ เช่น เต้นรำ หรือ วิ่งช้า ๆ ใน สวนสาธารณะ แต่ถ้าไม่มีเวลามาก อาจแบ่งเวลา ออกกำลังกายเป็น ช่วงเช้า 15 นาที และ ช่วงเย็นอีก 15 นาที เพื่อให้ปรับตัวก่อนแล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มขึ้น เช่น จากเดินเร็ว เป็น วิ่งช้า ๆ หรือ ว่ายน้ำ เป็นต้น
2.3 การเพิ่มระเบียบวินัย สร้างนิสัย หรือพฤติกรรมที่สงเสริมสุขภาพ ซึ่งอาจมีหลายเทคนิค เช่น
· ไม่นั่ง ดูโทรทัศน์ หรือใช้คอมพิวเตอร์ มากเกินไป
· หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารว่างขณะพักการประชุมหรือทำงาน
· ร่วมมือกับเพื่อนหรือครอบครัว เพื่อสนับสนุนการลดน้ำหนัก เช่น ชวนไปออกกำลังกายร่วมกัน
· หมั่นทบทวนและบันทึก ชนิดและปริมาณของอาหารที่รับประทาน ตลอดจนตารางกิจกรรมออกกำลังกายต่าง ๆ ในแต่ละสัปดาห์
· ให้รางวัลกับตัวเอง (ที่ไม่ใช่อาหาร) หากสามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมาย เป็นต้น
แนวทางสำหรับการลดน้ำหนักในคนนอนกรน (ตอนที่ 2)
Weight Reduction Guidelines
โดย
ผศ.นพ.วิชญ์ บรรณหิรัญ
American Board of Sleep Medicine,
Certified International Sleep Specialist
ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
(เนื้อหา ต่อจากตอนที่แล้ว)
3. การรักษาด้วยยาลดน้ำหนัก (Weight loss Medication)
การใช้ยาช่วยลดน้ำหนัก นั้นควรเป็นเพียงส่วนเสริม ควบคู่กับการปรับเปลี่ยนนิสัยและพฤติกรรมในการใช้ชีวิต ข้างต้น ในกรณีที่ทำอย่างเต็มที่ แต่ยังไม่ได้ผล มาแล้ว เช่นไม่น้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งปัจจุบันมีข้อบ่งชี้ ในผู้ใหญ่ คือ ผู้ที่มี BMI > 30 หรือ ผู้ที่มี BMI > 27 แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น
ปัจจุบัน องค์การอาหารและยาของสหรัฐ (FDA) ได้รับรองยาที่สามารถใช้ลดน้ำหนักได้ในระยะยาว ไม่เกิน 1 ปี จำนวน 2 ชนิดได้แก่
3.1 Sibutramine ซึ่งมีฤทธิ์ ทำให้รู้สึกอิ่ม และรับประทานอาหารน้อยลง
3.2 Orlistat ซึ่งมีฤทธิ์ ลดการดูดซึมไขมันจากอาหาร
ยาทั้งสองชนิดนี้ จะช่วยลดน้ำหนักได้ราว 3 – 10 กิโลกรัม ซึ่งจะเห็นผลได้ใน 6 เดือนแรก นอกจากนี้ยัง มียาอื่น ที่นำมาใช้ลดน้ำหนักเช่นกัน แต่ไม่ปลอดภัยสำหรับในการใช้ระยะยาว และยังไม่ได้รับการรับรอง
เนื่องจากยาทุกชนิดย่อมมีข้อห้ามใช้ หรือมี ผลข้างเคียง ดังนั้นจึงต้องปรึกษาแพทย์ก่อนและติดตามการตรวจรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอด้วย
4. การผ่าตัด เพื่อลดน้ำหนัก (Bariatric Surgery)
ในกรณีที่ล้มเหลวจากการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งหมดข้างต้น อาจพิจารณารับการผ่าตัด ซึ่งมีข้อบ่งชี้ในผู้ที่มี BMI > 40 หรือ BMI > 35 แต่มีโรคร่วม เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือ ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น
ปัจจุบันการผ่าตัดแบ่งเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ ได้แก่
4.1 การผ่าตัด รัดกระเพาะ (Banded Gastroplasty) เพื่อให้มีปริมาตรเล็กลง ทำให้ทานอาหารได้น้อย
4.2 การตัดต่อกระเพาะกับลำไส้เล็ก (Roux-en-Y Gastric Bypass) ซึ่งมีความเสี่ยงมากกว่า วิธีแรก
แม้ว่าการผ่าตัดมีรายงานว่าได้ผลค่อนข้างดี อย่างไรก็ตาม ย่อมมีความเสี่ยง ขึ้นอยู่กับสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละราย และต้องติดตามการรักษากับแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ในระยะยาว
การควบคุมและป้องกัน ภาวะอ้วน หรือ น้ำหนักเกิน
โดยทั่วไป ถ้า สามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมาย และรักษาระดับคงที่ ได้นานเกิน 2 ปี อาจถือว่า ประสบความสำเร็จ โดยสิ่งสำคัญที่สุด คือ การปรับเปลี่ยนนิสัยและพฤติกรรมในการใช้ชีวิต
สำหรับการป้องกันนั้น ควรเริ่มตั้งแต่เด็กอายุน้อย โดยผู้ปกครองควรเป็นแบบอย่างที่ดี และช่วยปลูกฝังนิสัยมีระเบียบวินัย ตลอดจนให้คำแนะนำและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เติบโตและมีสุขภาพแข็งแรงต่อไป
เครื่องเป่าความดันลมเพื่อเปิดขยายทางเดินทายใจ
(Positive Airway Pressure, PAP) Therapy
โดย
ผศ.นพ.วิชญ์ บรรณหิรัญ
American Board of Sleep Medicine,
Certified International Sleep Specialist
ภาควิชา โสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
CPAP Therapy คืออะไร
คำว่า CPAP นั้นย่อมาจาก Continuous Positive Airway Pressure เป็นการรักษาที่ได้ประสิทธิผลดีที่สุดวิธีหนึ่งในการรักษา ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea Syndrome, OSAS) โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีอาการในระดับปานกลาง ถึง รุนแรง CPAP มีหลักการในการรักษาคือ การเป่าความดันลมผ่านทางจมูกหรือปาก ผ่านบริเวณลำคอ และโคนลิ้น ซึ่งเป็นส่วนทางเดินหายใจส่วนต้น เพื่อให้เปิดขยายตัวตลอดเวลาโดยไม่ให้มีการอุดกั้นขณะที่นอนหลับ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ใช้เครื่องสามารถหายใจรับอากาศอย่างพอเพียงและนอนหลับราบรื่นตลอดทั้งคืน โดยลมที่เป่าด้วยความดันนี้มักเป็นเพียงอากาศปกติ ไม่ใช่การให้ออกซิเจนตามโรงพยาบาล (ยกเว้นในบางรายที่จำเป็นมากเท่านั้น)

เครื่อง CPAP มีส่วนประกอบและรูปร่างหน้าตา เป็นอย่างไร
ปัจจุบันมีเครื่อง CPAP อยู่หลายแบบเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตามส่วนประกอบของเครื่อง CPAP หลัก ๆนั้นจะคล้ายกัน ได้แก่ 1. ส่วนของเครื่องสร้างความดันลม 2. ส่วนของหน้ากากและสายรัดศีรษะ (CPAP Mask) 3.ส่วนของท่อลม และ 4.อุปกรณ์เสริมอื่น ๆ เช่น เครื่องอบไอน้ำ หรือหน้ากากสำรอง เป็นต้น

ควรเลือกรักษาด้วย CPAP แบบใด
ก่อนการรักษาด้วย CPAP ท่านต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางด้านนี้ รวมถึงต้องได้รับการตรวจสุขภาพการนอนหลับก่อนเสมอ เพื่อได้ข้อมูลที่ถูกต้องอันจะใช้ในการอ้างอิง เพื่อดูแลรักษาท่านในระยะยาวต่อไป และเมื่อท่านร่วมตัดสินใจกับแพทย์ว่า เป็นการรักษาที่เหมาะสมกับท่านแล้ว ท่านต้องตัดสินใจเลือกประเภทของเครื่อง เนื่องจากในปัจจุบัน มีเครื่อง PAP อยู่หลายแบบ ซึ่งแบ่งง่าย ๆ จะเป็น 1. เครื่องเป่าความดันลมแบบธรรมดา หรือ Manual CPAP 2. เครื่องเป่าความดันลม 2 ระดับ (Bilevel PAP หรือ BiPAP) และ 3. เครื่องเป่าความดันลมแบบปรับความดันอัตโนมัติ (Auto-adjusting PAP หรือ APAP) ในกรณีทั่วไปการใช้เครื่องแบบธรรมดาก็อาจเพียงพอซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าแบบอื่น ท่านจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะว่าแบบใด และความดันลมเท่าใดจึงจะเหมาะสมกับภาวะโรคของท่านโดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย นอกจากนี้อาจมีรายละเอียดพิเศษเพิ่มเติม ซึ่งท่านต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายประการรวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ของท่านเองด้วย
CPAP มีวิธีใช้อย่างไร
การใช้เครื่อง CPAP นั้น จะเริ่มใช้เฉพาะเวลาที่ท่านกำลังจะนอนหลับ โดยท่านควรใช้ตลอดทั้งคืนและทุกคืนให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวของท่าน วิธีการใช้ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน ซึ่งในส่วนรายละเอียดเล็กน้อยทางเทคนิคเจ้าหน้าที่เฉพาะด้านนี้จะช่วยให้คำแนะนำท่านได้ ขั้นตอนง่ายๆ เช่นเพียงเปิดเครื่องก่อน เช็คระดับความดันลม และสวมหน้ากาก เพื่อให้ลมเป่าผ่านทางท่อเข้าสู่ทางเดินหายใจอย่างถูกต้อง แล้วจึงเข้านอน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักใช้เพียงหน้ากากที่ครอบจมูก (Nasal Mask) แต่บางครั้งอาจใช้หน้ากากแบบที่ครอบทั้งจมูกและปาก (Full-Face Mask) และน้อยรายมากที่จะใช้หน้ากากครอบเฉพาะบริเวณปาก (Oronasal mask)
ประโยชน์ หรือ ข้อดี ของการรักษาด้วย CPAP
การรักษาด้วยเครื่อง CPAP นั้นตามรายงานการวิจัยทั่วโลก จัดว่าเป็นการรักษาภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับระดับปานกลางหรือรุนแรง ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุดในแบบที่ไม่ต้องผ่าตัด ถ้าท่านได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและปรับความดันที่เหมาะสมกับท่านที่สุดโดยแพทย์เฉพาะทาง และท่านได้ใช้เครื่องตลอดทั้งคืน จะข้อดีมีทั้งในระยะสั้น คือ ท่านจะไม่มีอาการนอนกรนและจะนอนหลับได้ดีขึ้นพร้อมกับได้รับอากาศอย่างเต็มที่ ตื่นขึ้นมาจะสดชื่น ลดอาการอ่อนเพลีย หรือ ความง่วงนอนตอนกลางวันอย่างที่ท่านรู้สึกความแตกต่างได้ รวมถึงในระยะยาวจะลดความเสี่ยงจากโรคแทรกซ้อนหรืออาการอื่นๆที่เกิดจากภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจขณะหลับด้วย โดยหากท่านติดตามดูแลกับแพทย์อย่างใกล้ชิด จะมีความเสี่ยงในการรักษาน้อย
ข้อเสีย หรือ ผลข้างเคียงจากการใช้ CPAP
ผลข้างเคียงต่อสุขภาพที่พบบ่อยๆ มักเกิดจากหน้ากากที่ใช้ เช่น อาจไม่พอดีกับครงหน้าของท่าน ทำให้แน่นไปจนเป็นรอยกดทับ หรือแผลถลอก หรืออาจหลวมไปจนเกิดความรำคาญ นอกจากนี้การที่ต้องใช้ลมเป่าผ่านจมูกของท่านทุกคืนเป็นเวลานาน ๆ บางรายอาจมีปัญหาเรื่องโรคจมูกหรือไซนัสกำเริบขึ้น เช่นอาจมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ปวดจมูก เลือดกำเดาไหล เป็นต้น ทำให้ใช้เครื่องไม่ได้หรือใช้น้อยลงกว่าเดิม ซึ่งส่วนนี้ท่านอาจให้แพทย์หู คอ จมูก ช่วยประเมินหรือดูแลรักษาร่วมด้วย และสำหรับท่านที่มีโรคประจำตัวหลายอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคทางสมอง หรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ ท่านควรปรึกษาแพทย์อายุรกรรมและติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากการใช้เครื่อง แม้ว่าจะพบไม่บ่อยก็ตาม
ข้อเสียอื่น ๆ ที่ตามความเห็นของผู้ป่วยหลายราย คือ ท่านอาจจะรู้สึกไม่ประทับใจในภายแรกที่ได้เห็น เครื่องหรือหน้ากากว่าไม่ค่อยน่าใช้ บางรายทดลองใช้แล้วเกิดความอึดอัดรำคาญทำให้นอนหลับไม่สนิท รวมถึงความไม่สะดวกต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีท่านต้องเดินทางไกลหรือเปลี่ยนสถานที่นอนหลับบ่อย นอกจากนี้หลาย ๆ ท่านอาจต้องใช้เครื่องไปตลอดชีวิต ยกเว้น รายที่สามารถแก้ที่ต้นเหตุของโรคได้จึงอาจหยุดใช้เครื่องได้ในภายหลัง
ถ้าทดลองใช้แล้ว ใช้เครื่องไม่ได้ มีทางแก้ไขอย่างไร
โดยหลักการแล้วท่านต้องให้ แพทย์ตรวจประเมินและวินิจฉัยหาสาเหตุที่ทำให้ท่านไม่สามารถใช้เครื่องได้ เช่นหลายรายอาจมีโรคทางจมูก เช่นผนังกั้นจมูกคด ริดสีดวงจมูก ไซนัสอักเสบ ภูมิแพ้ เป็นต้น นอกจากนี้ควรหาสาเหตุทางกายภาพอื่น ๆ ร่วมด้วยแล้วทำการรักษาอย่างเหมาะสม หากท่านมีปัญหาเรื่องหน้ากาก ท่านอาจเปลี่ยนได้หลายแบบเนื่องจากปัจจุบันมีหน้ากากให้เลือกเป็นจำนวนมากขึ้น โดยท่านควรจะพยายามใช้เครื่องให้มากที่สุด หรือถ้าเป็นไปได้อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ก่อนที่จะตัดสินใจแล้วว่าท่านไม่สามารถใช้ได้จริง ๆ ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นท่านควรปรึกษากับแพทย์ถึงทางเลือกการรักษาอื่น ๆ เช่น การผ่าตัดแบบต่างๆ หรือเครื่องมือทางทันตกรรม เป็นต้น
The IntelliPAP AutoAdjust unit can be operated in both conventional CPAP and AutoAdjust modes. AutoAdjust features include:
- Automatic pressure adjustment based on event density and type
- Adjustable definition of apnea and hypopnea (percentage and duration)
- Adjustable upper and lower pressure limits
- Adjustable delay setting for up to four hours
- Automatic detection of mask conditions and ultra-sensitive snoring detection
This device offers patented SmartFlex™ technology which offers three comfort settings, with each setting equating to an exact 1 cm H20 drop in pressure upon exhalation. DeVilbiss SmartFlex also features patented Flow Rounding which changes the slope of the pressure waveform during the transition from prescription pressure to the SmartFlex setting and vice versa. This enables a smooth transition and decreases the likelihood of waking the CPAP user. There are six levels of flow rounding with level 0 having the steepest slope and quickest transition and level five having the gentlest slope and slowest transition.